2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ได้เขียนทฤษฎีว่า
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม ที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึกหัด(Law o f Exercise) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆบ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากได้รับความไม่พอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ กาเย่(Gagne) ได้เขียนทฤษฎีว่า ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันในลักษะ ของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข
2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง
4. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์แทน
5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning)ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning)ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่างในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น
7. การเรียนรู้กฏ(Principle Learning)เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ นีโอฮิวแมนนิส ได้เขียนทฤษฎีว่า ทฤษฏีนี้พัฒนาให้คนสมบูรณ์ โดยเน้นด้านร่างกาย จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก นั่นคือเด็กจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงสวยงาม ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย รวมถึงการพัฒนาด้านอารมณ์ และสติปัญญาควบคู่ไปด้วย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมของนีโอฮิวแมนนิสจะต้องสอดคล้องกับหลัก4 ข้อคือ คลื่นสมองต่ำ การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตนเอง และการให้ความรัก
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ วอลดอร์ฟ ได้เขียนทฤษฎีว่า เน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่ให้มนุษย์ยึดตนเอง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทาง คือ กาย ใจและสติปัญญา (HAND-HEART-HEAD) ของเด็กที่แตกต่างกันตามวัย
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ มอนเตสซอรี่ ได้เขียนทฤษฎีว่า จุดเด่นของมอนเตสซอรี่คือ การให้เด็กเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ อุปกรณ์แต่ละชิ้นมีจุดมุ่งหมายการใช้เฉพาะ ทุกชิ้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเด็กชอบ สนใจ และเหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ครอบคลุมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กวัย 3-6 ปีที่มอนเตสซอรี่กำหนดไว้ทั้ง 3กลุ่มหลักคือ การจัดการศึกษาทางด้านทักษะกลไก การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส และ การเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ไอสโคป เขียนทฤษฎีว่า การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ในการพัฒนาเด็กการเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำหมายถึงการเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทำกับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทำได้แก่ การเลือกและการตัดสินใจ สื่อ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ภาษาจากเด็ก และการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
ทฤษการเรียนรู้ของแรกจิโอ เอมีเรีย ได้เขียนทฤษฎีว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กที่พัฒนามาจากความเชื่อที่ว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจ และบทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มศักยภาพของเด็ก การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย คือ วิธีการมองเด็ก โรงเรียน ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
บรรณรนุกรม
http://www.geocities.com/jatuponlimtakul/jitavitaya.htm
http://www.sema.go.th/node/4015
http://www.lpmp.org/index.php?option=com_content&task=view&id=103&Itemid=30
http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1
http://watashiwamanitodesu.page.tl/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น